ไวยากรณ์ Passive voice คืออะไร สรุปโครงสร้างพร้อมประโยคตัวอย่าง

ใครที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษต้องเคยได้ยินไวยากรณ์เรื่อง Passive voice แน่นอน เพราะเป็นหนึ่งในไวยากรณ์ที่เจอบ่อยสุดในบทความและงานเขียนภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะงานวิชาการ  Passive voice เป็นโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่เน้นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ แทนการเน้นประธานของประโยค ในบทความนี้ Speak Up Thailand จะมาไขข้อสงสัย และอธิบายหลักการใช้ไวยากรณ์เรื่องนี้กัน

ไวยากรณ์ Passive voice สำคัญยังไง ทำไมต้องรู้?

อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า เราจะเจอไวยากรณ์เรื่อง Passive voice บ่อยในงานเขียนวิชาการ นั่นเป็นเพราะว่า ประโยคหรือข้อความที่มีโครงสร้าง Passive voice จะสื่อความหมายเป็นทางการได้มากกว่า ในบางครั้งที่เราไม่รู้ประธานของประโยค หรือ ไม่รู้ว่าใครทำการกริยานั้นๆ เราก็สามารถใช้โครงสร้าง Passive voice ได้ (นึกถึงเวลาอ่านข่าวคดีฆาตกรรม ที่มักจะบอกว่าผู้เสียหายโดนทำอะไรบ้าง) รวมไปถึงเมื่อต้องการปกปิดตัวตนของผู้กระทำกริยานั้นๆ

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ไวยากรณ์ Passive voice มากเกินไป เนื่องจากจะทำให้การสื่อสารดูซับซ้อนและน่าดึงดูดน้อยลง ดังนั้น เราควรใช้ทั้งโครงสร้าง Active voice และ Passive voice ให้มีปริมาณเท่าๆ กันในหนึ่งบทความ

ไวยากรณ์ Passive Voice ใช้อย่างไร?

โครงสร้าง Passive voice คือการเน้นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ ดังนั้น เราจะสลับกรรมมาอยู่ที่ตำแหน่งประธาน และตามด้วย “Verb to be” + “Verb ช่อง 3” เพื่อบอกว่าประธานถูกทำอะไร

เปรียบเทียบกับโครงสร้างประโยคปกติ

ประโยค Active voice: Subject + Verb + Object
ประโยค Passive voice: Object + Verb to be + V. ช่อง 3

และถ้าจะบอกว่าประธานนั้นถูกกระทำโดยใคร ให้เติม “by” + ผู้กระทำ ก่อนจบประโยค อธิบายแบบนี้เพื่อนๆ อาจจะงง ไปดูตัวอย่างประโยค Passive voice กัน

ประโยคปกติ (Active voice)ประโยค Passive voice
The dog is chasing a squirrel.
สุนัขตัวนั้นกำลังวิ่งไล่กระรอก
The squirrel is being chased by a dog.
กระรอกตัวนั้นกำลังถูกวิ่งไล่โดยสุนัข
My mother cleaned the kitchen yesterday.
แม่ของฉันทำความสะอาดห้องครัวเมื่อวาน
The kitchen was cleaned by my mother yesterday.
ห้องครัวได้ถูกทำความสะอาดไปแล้วโดยแม่ของฉัน
My sister will submit the document tomorrow.
น้องสาวของฉันจะส่งเอกสารวันพรุ่งนี้
The document will be sent tomorrow by my sister.
เอกสารจะถูกส่งในวันพรุ่งนี้โดยน้องสาวของฉัน
ABC company has been constructing this building since 2020.
บริษัท ABC ได้ก่อสร้างอาคารหลังนี้ตั้งแต่ปี 2020
This building has been being built by ABC company since 2020.
อาหารหลังนี้ถูกสร้างมาอย่างต่อเนื่องโดยบริษัท ABC ตั้งแต่ปี 2014
The police found the criminal after searching for 3 days.
ตำรวจพบตัวคนร้ายแล้วหลังจากตามหานาน 3 วัน
After searching for 3 days, the criminal was found by the police.
หลังตามหามานาน 3 วัน คนร้ายก็ได้ถูกพบโดยตำรวจ

จากประโยคตัวอย่างจะเห็นได้ว่า เราจะใช้ Verb ช่อง 3 ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนประโยคปกติมาเป็นประโยค Passive voice  ดังนั้น เพื่อนๆ ต้องฝึกผัน Verb ช่อง 3 ให้แม่นๆ ด้วยนะ หากใครยังไม่เคยเรียนไวยากรณ์เรื่อง Verb ช่อง 3 และต้องการหาที่เรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน คอร์สเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ที่ Speak Up ก็มีสอนทั้งไวยากรณ์และทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วย ลงทะเบียนที่นี่

 ไวยากรณ์ Passive Voice และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไวยากรณ์เรื่องนี้!

เพื่อนๆ รู้ไหมว่า เวลาเราจะบอกคนอื่นว่า เราเกิดที่ไหน เมื่อไหร่ เราจะไม่พูดว่า “I born in 1998” นะ แบบนี้ผิดหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แต่เราจะใช้ Passive voice ตลอดถ้าจะพูดถึงการเกิด เพราะว่า เราไม่สามารถเกิดได้เอง (คุณหมอเป็นคนทำคลอดให้คุณน่ะสิ) ดังนั้น ถ้าจะพูดว่า “ฉันเกิดในปี 1998” เป็นภาษาอังกฤษ จะต้องพูดว่า “I was born in 1998” นั่นเอง และให้จำไว้ว่าเราจะใช้ “to be born” ทุกครั้งเมื่อจะพูดเกี่ยวกับการเกิด ลองไปดูตัวอย่างประโยคอื่นๆ กัน

ตัวอย่างประโยคที่ใช้ “To be born”
Where was your older sister born?
พี่สาวของคุณเกิดที่ไหน?
The baby was just borned two days ago.
เด็กทารกเพิ่งเกิดมาได้ 2 วันที่แล้วเอง
When will your baby be born?
ลูกของคุณจะเกิดเมื่อไหร่

ไวยากรณ์ Passive Voice กับเรื่องที่ควรระวัง

ถึงแม้ว่าไวยากรณ์ Passive voice จะมีประโยชน์มากในงานเขียน แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่

  • ความคลุมเครือ: โครงสร้างประโยค Passive voice บางครั้งจะไม่ได้บอกว่าใครเป็นผู้กระทำ จะบอกแค่กรรมหรือผู้ถูกกระทำเท่านั้น ด้วยสาเหตุนี้ก็อาจจะสร้างความคลุมเครือให้กับผู้อ่านได้
  • ใช้คำสิ้นเปลือง: ประโยคที่ใช้ไวยากรณ์ Passive voice ค่อนข้างยาวและยืดเยื้อ ซึ่งทำให้งานเขียนดูใช้คำเยอะ ไม่กระชับ และไม่ดึงดูดผู้อ่าน
  • ขาดการเชื่อมโยง: หากใช้ประโยค Passive voice มากเกินไปจะทำให้เนื้อความในบทความภาษาอังกฤษขาดการเชื่อมโยง (Disconnect) ซึ่งกันและกัน

โดยสรุปแล้ว เราควรใช้ประโยค Passive voice แต่พอดีในบทความภาษาอังกฤษ หากใช้แต่พอดี จะทำให้บทความน่าสนใจ มีรูปประโยคหลากหลาย และสื่อความหมายให้ผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

Speak Up Thailand หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ เข้าใจความสำคัญของไวยากรณ์ Passive voice มากขึ้น รวมไปถึงวิธีใช้ไวยากรณ์เรื่องนี้ให้ถูกต้อง และหากใครที่กำลังหาที่เรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ ที่เรียนโดยตรงกับ Native Speakers แถมยังได้เรียนควบคู่กับ Multimedia และ E-Book อีกด้วย 

คอร์สเรียนภาษาอังกฤษกับราคาที่คุ้มค่า

คอร์สเรียนภาษาอังกฤษของ Speak Up Thailand ตอบโจทย์ทุกความฝัน และทุกความต้องการของคุณ ยิ่งเรียนระยะยาวยิ่งราคาลดลง  Speak Up Thailand เส้นทางสู่ความสำเร็จ

โปรโมชั่นคอร์สเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์
พิเศษ สำหรับเดือนนี้เท่านั้น

Intensive Course เรียนสดออนไลน์ 40 ชั่วโมง 3 เดือน

เรียนสดออนไลน์กับคุณครูเจ้าของภาษา 40 ชั่วโมง
แถมฟรี! บทเรียน Multimedia 40 ชั่วโมง
แถมฟรี! Smart E-Book ลิขสิทธิ์เฉพาะ 40 ชั่วโมง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

Save